เหมาะสำหรับ บุคคลทั่วไป พนักงานบริษัท
หลักการ/ แนวความคิด
การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรจะทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญ เพราะจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรมีมากมาย องค์กรจำเป็นที่จะต้องเลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ลดความสูญเสีย มีต้นทุนในการดำเนินงานที่เหมาะสม และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันเวลาระบบข้อเสนอแนะไคเซ็น (Kaizen Suggestion System) เป็นระบบหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรอย่างเป็นระบบ เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ และปรับปรุงงานที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างเป็นระบบ ระบบข้อ เสนอแนะ ไคเซ็นเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน พนักงานสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายจึงได้รับการตอบรับที่ดีจากพนักงานในการดำเนินการ จึงทำให้ระบบข้อเสนอแนะไคเซ็นเป็นระบบการเพิ่มผลิตภาพระบบหนึ่งที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย
ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตมักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมา ก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิต เครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) เป็นเทคนิคการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุง และพนักงานหน่วยผลิตซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาและผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิด หลักการ และแนวทางการทำไคเซ็น
-
เพื่อให้ทราบถึงการวางระบบบริหารไคเซ็น Step by Step
-
เพื่อให้เข้าใจวิธีการคิดไคเซ็นและสามารถนำไปประยุกค์ใช้ในองกรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของการบำรุงรักษา และขั้นตอนการบำรุงรักษาทวีผล
-
เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิต
-
สามารถวางแผนและดำเนินการ TPM ได้อย่างเป็นขั้นตอน มุ่งเน้นในหัวข้อ AM
-
เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง
-
เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
1. แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพ และการเพิ่มผลผลิตด้วยหลัก QCDSMEE
2. ไคเซ็นเพื่อการเพิ่มผลผลิต ด้วยเทคนิคการลดความสูญเสีย 7 ประการ
3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
4. เทคนิคในการมองปัญหา
5. ไคเซ็นกับเทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และการจัดการระบบไคเซ็นในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ
6. TPM : แนวคิดและความสำคัญ
7. ชนิดของการบำรุงรักษา
8. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM)
9. 12 ขั้นตอน และ 8 เสาหลักในการทำกิจกรรม TPM
10. ความสูญเสียหลักของเครื่องจักร (6 Big Losses)
11. การวัดประสิทธิผลของ TPM (OEE)
12. เสาหลักการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย (Focus Improvement)
13. เสาเหลักการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
14. เสาหลักการบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
15. เสาหลักอื่นในการดำเนินการกิจกรรม TPM
16. แนวทางในการดำเนินกิจกรรม TPM ในองค์กร
17. กรณีศึกษาและ Workshop
ตัวอย่าง Work Shop / กรณีศึกษา
-
Workshop 1 : ฝึกการทำงานเป็นทีม
-
Workshop 2 : ค้นหาปัญหาในขบวนการผลิต
-
Workshop 3 : วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขป้องกัน
-
Workshop 4 : ฝึกแก้ไขปัญหาจากตัวอย่าง
ผู้ประสานงานหลักสูตร
อ.นัน
084-4344-971
*ค่าอบรมสัมมนาสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีตอนสิ้นปีได้ 200% ตามประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 437